วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รัชกาลที่ ๘


พระองค์ทรงมีสมเด็จพระเชษฐภคินี 1 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และ สมเด็จพระอนุชา 1 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
        เมื่อทรงพระเยาว์ได้ตามเสด็จสมเด็จพระราชบิดาและสมเด็จพระราชชนนีไปยังประเทศต่าง ๆ ได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา ซึ่งสมเด็จพระราชบิดาทรงเข้าศึกษาวิชาแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด สหรัฐอเมริกา ในระหว่างปี พ.ศ. 2469 - 2471 แล้วจึงเสด็จกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อพระชนมายุได้ 3 พรรษา ประทับ ณ วังสระปทุม ในระหว่างนั้นสมเด็จพระราชบิดาทรงพระประชวรและเสด็จทิวงคต ดังนั้น พระองค์จึงอยู่ในความดูแลของสมเด็จพระราชชนนีเพียงพระองค์เดียว
        พระองค์ทรงเริ่มการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนมาแตร์เดอี และเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ หลังจากเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 นั้น สมเด็จพระราชชนนีได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการที่จะทรงนำพระโอรส และพระธิดาไปประทับที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยพระองค์ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนมีเรมองต์ ต่อมาย้ายไปศึกษาที่โรงเรียนนูแวลเดอลา ซูวิสโรมองต์ และ ทรงศึกษาภาษาไทย ณ ที่ประทับ โดยมีพระอาจารย์ตามเสด็จไปจากกรุงเทพ

การปกครอง

พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 และเปิดประชุมสภาผู้แทนในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2489 นอกจากนี้ ยังเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่าง ๆ และทรงเยี่ยมชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นครั้งแรก ณ สำเพ็ง พระนคร พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดความขัดแย้งกันระหว่างชาวไทยและชาวไทยเชื้อสายจีนจนเกือบเกิดสงครามกลางเมือง เมื่อพระองค์ทรงทราบเรื่อง ทรงมีพระราชดำริว่า หากปล่อยความขุ่นข้องบาดหมางไว้เช่นนี้ จะเป็นผลร้ายตลอดไป จึงทรงตัดสินพระทัยเสด็จพระราชดำเนินสำเพ็ง ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง และพระองค์ทรงพระราชดำเนินด้วยพระบาทเป็นระยะประมาณ 3 กิโลเมตร การเสด็จพระราชดำเนินสำเพ็งในครั้งนี้จึงเป็นการประสานรอยร้าวที่เกิดขึ้นให้หมดไป

การศึกษา

  ในการเสด็จนิวัติพระนครในครั้งที่ 2 พระองค์ทรงได้ประกอบพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของประเทศ โดยเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรกิจการของหอสมุดแห่งชาติ รวมทั้ง เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมสถานศึกษาหลายแห่ง เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ทรงศึกษาขณะทรงพระเยาว์ นอกจากนี้ พระองค์ยังได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งแรกของพระองค์ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2489 และอีกครั้งที่ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2489 โดยในการพระราชทานปริญญาบัตรในครั้งนี้ พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ให้มีการผลิตแพทย์เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน โรงเรียนแพทย์แห่งที่ 2 จึงได้ถือกำเนิดขึ้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งในปัจจุบัน คือ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
        หลังจากนั้น ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระองค์ทรงหว่านข้าว ณ แปลงสาธิต ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งถือเป็นพระราชกรณียกิจสุดท้าย ก่อนเสด็จสวรรคต

ศาสนา

ในการเสด็จนิวัติพระนครครั้งแรกนั้น พระองค์ได้ประกอบพิธีทรงปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ท่ามกลางมณฑลสงฆ์ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 นอกจากนี้ ยังเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการพระพุทธรูปในพระอารามที่สำคัญ เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร และวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร โดยเฉพาะที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารนั้น พระองค์เคยมีพระราชดำรัสกล่าวว่า "ที่นี่สงบเงียบน่าอยู่จริง" ดังนั้น เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต จึงได้นำพระบรมราชสรีรางคารของพระองค์มาประดิษฐาน ณ วัดแห่งนี้
        พระองค์ยังทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าจะทรงผนวชในพระพุทธศาสนา โดยได้มีพระราชหัตเลขาถึงสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2489 ทรงขอสังฆราชานุเคราะห์ในการศึกษาตำราทางพระพุทธศาสนาเพื่อใช้ในการเตรียมพระองค์ในการที่จะอุปสมบท แต่ก็มิได้ทรงผนวชตามที่ตั้งพระราชหฤทัยไว้ นอกจากนี้ยังได้พระราชทานพระราชทรัพย์บำรุงวัดวาอาราม กับพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่ศาสนาอื่นตามสมควร

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ พระราชภารกิจแรกของพระองค์ หลังจากเสด็จฯ นิวัตประเทศไทยครั้งที่ 2
นี้คือการเสด็จออกรับการตรวจพลสวนสนามของฝ่ายพันธมิตรในประเทศไทยพร้อมลอร์ดหลุยส์เม้าแบตเตน
แม่ทัพใหญ่ของกองทัพอังกฤษ อันเป็นผลทำให้ภาพลักษณ์และฐานะของประเทศเป็นที่ยอมรับ
แก่ประเทศทางตะวันตกที่เป็นฝ่ายพันธมิตร

        การปกครองประเทศและการทำนุบำรุงบ้านเมือง พระองค์ได้พระราชทานพระราชวินิจฉัยเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ซึ่งรัฐสภาได้ร่างขึ้น แต่ยังคงมีปัญหาบางประการจนทุกอย่างลุล่วงไปด้วยดี ทรงลงพระปรมาภิไธยและได้พระราชทาน
“ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับวันที่ 9 พฤษภาคม พุทธศักราช 2489 ”
ให้ใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศในวันเสด็จเปิดสภาผู้แทนราษฎร

        ทรงเสด็จออกเยี่ยมเยียนท้องที่ที่ชาวจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

ให้ออกหมายกำหนดการเสด็จฯ เยี่ยมสำเพ็งอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 3 พฤษภาคม พุทธศักราช 2489
พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ในการเสด็จฯ เยี่ยมเยียนครั้งนี้ทรงใช้เวลานานถึง 4 ชั่วโมง
เพราะมีชาวจีนมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทมากมาย ทรงไต่ถามทุกข์สุขและการทำมาหากินของผู้คนที่เฝ้ารับเสด็จฯ
ด้วยพระอิริยาบถและพระพักตร์ที่เปี่ยมไปด้วยพระเมตตากรุณาเป็นที่ประทับใจแก่ผู้เฝ้ารับเสด็จฯ อย่างยิ่ง
จนเกิดความรู้สึกว่าทั้งชาวไทยและชาวจีนต่างก็เป็นประชากรของประเทศไทย และอยู่ภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์เดียวกัน นับแต่นั้นมาความร้าวฉานและข้อบาดหมางต่าง ๆ
ระหว่างชาวไทยกับชาวจีนก็หมดสิ้นไป ปัญหาซึ่งกำลังจะกลายเป็นความยุ่งยากทางการเมือง
และการปกครองเป็นอันยุติลงด้วยพระมหากรุณาธิคุณในการเสด็จฯ ประพาสสำเพ็งในครั้งนี้

        ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลประทับอยู่ในพระนคร

เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทยครั้งที่ 2 นั้น เวลาประมาณ 09.00 น. ของวันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2489
ได้มีเสียงปืนดังขึ้นในห้องบรรทม มหาดเล็กวิ่งเข้าไปดูพบว่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลบรรทมอยู่บนพระที่บรรทม ในพระที่นั่งบรมพิมาน
และเสด็จสู่สวรรคาลัยแล้ว หลังจากเสวยราชสมบัติอยู่เป็นเวลา 12 ปีเท่านั้น

ขอบคุณที่มาจาก 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น