วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รัชกาลที่ ๕


            พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระพุทธเจ้าหลวง ทรงเป็นรัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระบรมราชสมภพเมื่อ วันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ เสวยราชสมบัติ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง (พ.ศ. 2411) รวมสิริดำรงราชสมบัติ 42 ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีจอ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) ด้วยโรคพระวักกะ รวมพระชนมพรรษา 58 พรรษ
           พระองค์ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร ให้ร่มเย็นเป็นสุข ทรงโปรดการเสด็จประพาสต้น เพื่อให้ได้ทรงทราบถึงความเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎร ทรงสนพระทัยในวิชาความรู้ และวิทยาการแขนงต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง และนำมาใช้บริหารประเทศให้ เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว พระองค์จึงได้รับถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระปิยมหาราช และมีความหมายว่า พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวง
          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ (ต่อมาภายหลังในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการเปลี่ยนแปลงพระนามเจ้านายฝ่ายในให้ถูกต้องชัดเจนตามโบราณราชประเพณีนิยมยุคถัดมาเป็น สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี) ได้รับพระราชทานนามว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร
         พระองค์ทรงมีพระขนิษฐาและพระอนุชารวม 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
         วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2404 สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ ได้รับการสถาปนาให้ขึ้นทรงกรมเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ [1] และเมื่อ พ.ศ. 2409 พระองค์ทรงผนวชตามราชประเพณี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ภายหลังจากการทรงผนวช พระองค์ได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ เมื่อปี พ.ศ. 2410 โดยทรงกำกับราชการกรมมหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัติ และกรมทหารบกวังหน้า



การเสด็จประพาส

                 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงชื่นชอบการเสด็จประพาสยิ่งนัก พระองค์ทรงเสด็จประพาสทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ บางครั้งทรงปลอมพระองค์ทรงปลอมพระองค์เป็นสามัญชนบ้าง ปลอมเป็นขุนนางบ้าง เพื่อเสด็จดูแลทุกข์สุขของประชาชนในหัวเมืองต่าง ๆ มากมาย การเสด็จประพาสบ่อยครั้งทำให้ทรงได้ทอดพระเนตรเห็นสิ่งต่าง ๆ มากมายทั้งที่ดีและไม่ดี สิ่งเหล่านี้พระองค์ท่านได้นำมาพัฒนาบ้านเมืองให้เกิดความเจริญขึ้น จะเห็นได้จากที่พระองค์ทรงพระราชดำริในการเสด็จประพาสในแต่ละครั้ง
         ในปี พ.ศ. 2413 ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปเยือนประเทศเพื่อนบ้านเป็นครั้งแรก ทรงเลือกที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปในประเทศเพื่อบ้านใกล้เคียง คือ ประเทศสิงคโปร์ และประเทศชวา ด้วยทรงต้องการที่จะเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้านในแถบอินโดจีนด้วย และเพื่อเรียนรู้การปกครองเนื่องด้วยประเทศทั้งสองนี้ต่างก็เป็นเมืองขึ้น ของประเทศอังกฤษ
           ต่อมาในปี พ.ศ. 2415 ทรงได้เสด็จเยือนประเทศเพื่อนบ้านอีก 2 ประเทศ คือประเทศอินเดีย และประเทศพม่า และเมื่อที่เสด็จไปประเทศอินเดียนั้น ทรงได้รับการถวายพระบรมสารีริกธาตุและพันธุ์พระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยา อินเดีย เพื่อนำกลับมาปลูกในประเทศไทย ทั้งนี้เป็นการทำนุบำรุงพระศาสนาให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใสมากขึ้น
         ด้วยในขณะนั้นประเทศในแถบอินโดจีนได้รับการรุกรานจากประเทศมหาอำนาจ จากตะวันตกและด้วยประเทศในแถบอินโดจีนนั้นเป็นปรเทศที่ด้วยพัฒนา ทำให้ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจได้โดยง่า รวมถึงประเทศไทยก็กำลังต้องเผชิญกับสภาวะนี้อยู่เช่นกัน ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลของพระองค์ในกาลนี้ พระองค์จึงตั้งพระทัยที่จะเสด็จประพาสยุโรปเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศ มหาอำนาจเหล่านั้น
           พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2440 โดยประเทศที่ได้เสด็จประพาส คือ ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก สวีเดน เบลเยี่ยม อิตาลี ออกสเตรเลีย ฮังการี สเปน เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ อียิปต์และเยอรมัน ทั้งนี้มีเหตุผลอยู่หลายประการในการเสด็จประพาสครั้งนี้ คือ เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจ และร่วมปรึกษาหารือในการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ซึ่งในขณะนั้นมีปัญหาการสู้รบกันอยู่ การเสด็จประพาสของพระองค์ในครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่และสมพระเกียรติของพระมากษัตริย์ไทย
         ในปี พ.ศ 2449 พระองค์ได้เสด็จประพาสยุโรปอีกเป็นครั้งที่ 2 การเสด็จประพาสครั้งนี้ นำความเจริญมาสู่บ้านเมืองอย่างมากมาย ทั้งนี้มีความประสงค์ที่จะพัฒนาประเทศไทยให้ได้รับความเจริญก้าวหน้าให้ทัด เทียมกับนานาประเทศ



พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
               

             การเลิกทาส 
                ทาสตามกฎหมายโบราณ แยกทาสเอาไว้ทั้งหมด 7 ชนิดด้วยกันคือ
        1.ทาสสินไถ่
        2.ทาสในเรือนเบี้ย
        3.ทาสได้มาแต่บิดามารดา
        4.ทาสท่านให้
        5.ทาสช่วยมาแต่ทัณฑ์โทษ
        6.ทาสที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย
        7.ทาสเชลยศึก
              ประเทศไทยนั้นมีการใช้ทาสมาเป็นเวลานานเพื่อใช้ทำกิจการต่าง ๆ ในบ้านเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่สูงศักดิ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นทาสนี้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถือเป็นประเพณีแล้ว เจ้านายหรือขุนนาง เสนาบดีที่เป็นใหญ่ในแผ่นดินมักมีทาสเป็นข้ารับใช้ที่มไอาจสร้างความเป็นไท แก่ตัวเอง พระองค์ทรงใช้พระวิริยะอุตสาหะที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้หมดไปพระองค์ทรงใช้ ระยะเวลาอันยาวนานกับการเลิกทาส ด้วยทรงพระราชดำริกับเสนาบดีและข้าราชบริพารเกี่ยวกับเรื่องทาส พระองค์ทรงคิดหาวิธีที่จะปลดปล่อยทาสให้ได้รับความเป็นไท ด้วยวิธีการละมุนละม่อม ทำตามลำดับขั้นตอน จนกระทั่งประสบความสำเร็จในการเลิกทาสในที่สุด
         ในปี พ.ศ. 2417 โปรดให้ตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุของลูกทาสโดยกำหนดเอาไว้ว่าลูกทาส ที่เกิดแต่ปีมะโรง พ.ศ. 2441 อันเป็นปีแรกที่พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ ก็ให้ใช้อัตราค่าตัวเสียใหม่ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัตินี้ พออายุครบ 8 ปี ก็ให้ตีค่าออกมาให้เต็มตัว จนกว่าจะครบ 20 ปีบริบูรณ์ ให้กลับเป็นไทแก่ตัว เมื่อก้าวพ้นเป็นอิสระแล้วห้ามกลับมาเป็นทาสอีก ทรงระบุเรื่องโทษของการเป็นทางทั้งแก่ผู้ซื้อและผู้ขายเอาไว้ด้วย เป็นการป้องกันมิให้เกิดการกลับมาเป็นทาสอีก
         ด้วยพระเมตตาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงห่วงใยต่อพสกนิกรของพระองค์เอง การดำริเรื่องการเลิกทาสนั้น พระองค์ทรงเริ่มการปลดปล่อยทาสตั้งแต่ทรงขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ พระองค์ท่านใช้ความวิริยะอุตสาหะ ที่จะออกกฎหมายมาบังคับให้เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่เป็นนายเงิน ให้ปลดปล่อยทาสให้ได้รับอิสระเป็นไทแก่ตัว พระองค์ท่านต้องใช้เวลากว่า 30 ปี ในการที่จะไม่ให้มีทาสเหลือยู่ในพระราชอาราจักรของพระองค์ท่านอีก โดยที่มิต้องสูญเสียเลือดเนื้อในการเลิกทาสแม้แต่หยดเดียว ซึ่งแตกต่างกับต่างชาติที่เมื่อประกาสเลิกทาส ก็เกิดการคัดค้านต่อต้านขึ้นจนทำให้เกิดเหตุการณ์นองเลือด


ด้านสถาปัตยกรรม 
          ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นงานศิลปที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตกด้วยเหตุผลที่ว่าจะประหยัดค่าใช้ จ่ายในการก่อสร้างเนื่องด้วยสถาปัตยกรรมตะวันตกไม่สลับซับซ้อนเท่าไรอีกทั้ง ยังทรงได้มีการเสด็จประพาสยุโรป พระองค์จึงนำสถาปัตยกรรมตะวันตกมาผสมผสานกับสถาปัตยกรรมไทยได้อย่างงดงาม ดังจะเห็นได้จากงานสถาปัตยกรรม ดังต่อไปนี้


 1. พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นศิลปกรรมอิตาลี ใช้เป็นสถานที่ในการออกท้องพระโรงว่าราชการเมือง


2. วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ เป็นงานศิลปะไทยที่ผสมผสานกับตะวันตกได้อย่างงดงามลงตัว วัดแห่งนี้อยู่ฝั่งตรงข้ามกับ พระราชวังบางปะอิน


    3. พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นงานที่ผสมผสานระหว่างศิลปะไทยและตะวันตกอีกชี้นหนึ่งที่มีความงดงาม ตั้งอยู่ในบริเวณพระบรมราชวัง


4. พระราชวังดุสิต


  5. พระบรมราชนิเวศน์


  6. ศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม 



ขอบคุณที่มา 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น