วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รัชกาลที่ ๒




พระนามเต็ม สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาศกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยคโรมนต์ สกลจักรวาลาธิเมนทรต์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีสุวิบูลย์ คุณอกณิฐ ฤทธิราเมศวรมหันต์ บรมธรรมิกราชาธิเบศร์ โลกเชฐวิสุทธิ์ รัตนมงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร (พระนามที่ปรากฏ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นั้น พึ่งถวายพระนามเรียกเมื่อรัชกาลที่ ๓)
พระนามย่อ  -
พระนามเดิม ฉิม
     
พระราชสมภพ ณ นิวาสสถานตำบลอัมพวา เมืองสมุทรสงคราม
วันพุธ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๔ ปีกุน เวลาเช้า ๕ ยาม นพศก จุลศักราช ๑๑๒๙
ตรงกับวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๓๑๐
เป็นบุตรคนที่ ๔ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (ก่อนปราบดาภิเษก ขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี) กับสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระราชชนนี ทรงพระนามเดิมว่า นาก  เสวยราชสมบัติ เมื่อปีมะเส็ง พุทธศักราช ๒๓๕๒ - ๒๓๖๗ ขณะมีพระชนมายุได้ ๔๒ พรรษา
รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๑๖ ปี
พระราชโอรส-ราชธิดา รวมทั้งสิ้น ๗๓ พระองค์
สวรรคต  เมื่อวันพุธ เดือน ๘ แรม ๑๑ ค่ำ
ตรงกับวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๓๖๗ ปีวอก
รวมพระชนมพรรษา ๕๘ พรรษา
วัดประจำรัชกาล วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง)
เหตุการณ์สำคัญ กรุงสยามมีการเปลี่ยนธงประจำชาติ จากธงแดง เป็นธงช้าง
มีลักษณะพื้นสีแดง ตรงกลางเป็นวงกลมสีขาว มีรูปช้างเผือกสีขาวภายในวงกลม
แต่เมื่อจะใช้ชักเป็นธงบนเรือสินค้า ให้งดวงกลมออกเสีย เหลือแต่รูปช้างเผือกสีขาวเท่านั้น  ดังนั้น บันทึกที่พบในต่างประเทศจึงระบุว่ากรุงสยาม ใช้ธงประจำชาติเป็นรูปช้างเผือกสีขาวบนพื้นแดง
ดูเรื่อง ธงชาติไทย
     
พ.ศ.๒๓๕๒  เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิตกับพวก คิดกบฏ  โปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ชำระความ สงครามกับพม่าที่เมืองถลาง
 
พ.ศ.๒๓๕๓  ราชฑูตญวนมาขอเมืองบันทายมาศ
ทรงเจริญทางพระราชไมตรีกับต่างชาติครั้งแรกของพระบรมราชจักรีวงศ์
ทรงแต่งราชทูตเชิญพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการ ออกไปเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเจ้ากรุงจีน โดยประทับตราโลโตบนพระราชสาสน์ เยี่ยงพระมหากษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยา
      
พ.ศ.๒๓๕๔  โปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายไปกำกับราชการตามกระทรวงต่างๆ
โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานออก "เดินสวนเดินนา"
เกิดอหิวาตกโรคครั้งใหญ่ โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธี "อาพาธพินาศ"
โปรดเกล้าฯ ให้กองทัพไทย ไประงับความวุ่นวายในกัมพูชา
      
พ.ศ.๒๓๕๖  โปรดให้จัดการพระราชพิธีมหาพิไชยมงคลสรงสนานเฉลิมพระนามสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมุติเทวาวงศ์ พงศอิศรกษัตริย์ ขัติยราชกุมาร โดยทรงกำหนดให้มีการลงสรงในคราวเฉลิมพระนาม แทนการลงสรงในพระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งทำกันมาแต่เดิม
      
พ.ศ.๒๓๕๙  โปรดเกล้าฯ ให้จัดการปรับปรุงการสอบปริยัติธรรมใหม่ กำหนดขึ้นเป็น ๙ ประโยค
     
พ.ศ.๒๓๖๐  ทรงฟื้นฟูพิธี วิสาขบูชา โปรดให้นิมนต์พระสงฆ์แสดงธรรมเทศนา ให้มีการรักษาอุโบสถศีล ปล่อยนก ปล่อยปลา อีกทั้งโปรดให้มีการประดับโคมประทีปถวายเป็นพุทธบูชา  ซึ่งได้ถือปฏิบัติสืบมาจนทุกวันนี้
พ.ศ.๒๓๖๑ ขยายเขตพระบรมมหาราชวังจนจรดวัดพระเชตุพน
สมณฑูตกลับจากลังกา เจ้าเมืองมาเก๊า ขอเจริญพระราชไมตรี
      
พ.ศ.๒๓๖๒ หมอจัสลิส มิชชันนารีประจำร่างกุ้ง หล่อตัวพิมพ์อักษรไทยเป็นครั้งแรก
     
พ.ศ.๒๓๖๓ ฉลองวัดอรุณราชวราราม
สังคายนาบทสวดมนต์ โปรตุเกสตั้งสถานฑูต
     
พ.ศ.๒๓๖๕ เซอร์จอห์น ครอฟอร์ด เป็นฑูตเข้ามาเจริญพระราชไมตรี
     
พ.ศ.๒๓๖๗ เสด็จสวรรคต  


ด้านกวีและวรรณกรรม

ในสมัยรัชการที่ 2 นี้จัดว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรม จนกล่าวได้ว่า ถ้าใครเป็นกวีก็เป็นคนโปรด
กวีที่สำคัญ ได้แก่
1 .
รัชการที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์ อิเหนา รามเกียรติ์ บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ไกรทอง คาวี มณีพิชัย สังข์ทอง
2 .
สุนทรภู่ หรือพระสุนทรโวหาร แต่งเรื่อง พระอภัยมณี ลักษณะวงศ์ สิงหไตรภพ โคบุตร พระไชยสุริยา นอกจากนี้ ยังมีนิราศ เช่น นิราศเมืองแกลง นิราศเมืองสุพรรณ นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศอิเหนา
นิราศเมืองเพชรบุรี นิราศพระประธม นิราศทั้งหมดล้วนเป็นคำกลอน ยกเว้นนิราศเมืองสุพรรณเป็นโคลงสี่สุภาพ
3 .
พระยาตรัง แต่ง โคลงนิราศตามเสด็จลำน้ำน้อย
4 .
นายนรินทร์ธิเบศร์ (อินทร์) แต่งโคลงนิราศนรินทร์


ด้านการปกครอง

ลักษณะการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 2 ยังคงมีรูปแบบเหมือนสมัยกรุงธนบุรีและรัชกาลที่ 1
         
โปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ดำรงตำแหน่งกรมพระวังบวรสถานมงคล(วังหน้า) ทำหน้าที่กำกับตรวจตราราชการต่างพระเนตรพระกรรณ หลังจากกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ทิวงคตแล้ว ก็โปรดให้ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี รับหน้าที่ต่อ สำหรับหน่วยงานอื่น ๆ ก็โปรดให้เจ้านายทรงกำกับราชการดังนี้
           
เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ทรงกำกับ ราชการกรมมหาดไทยและกรมวัง
           
กรมหมื่นศักดิพลเสพ ทรงกำกับ ราชการกลาโหม ในระยะแรกมีเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ทรงกำกับอยู่ด้วย
          
กรมหมื่นพิพิธภูเบนทร ทรงกำกับ ราชการกรมเมือง
          
กรมหมี่นเจษฎาบดินทร์ ทรงกำกับ ราชการกรมคลัง
           กรมหมี่นเทพพลภักดี และกรมหมื่นรักษ์รณเรศ ทรงกำกับ ราชการกรมพระคชบาล



ด้านศาสนา

1. การแต่งสมณฑูตไปลังกา
    
ในสมัยนี้ได้มีพระสงฆ์ชาวลังการูปหนึ่ง ชื่อ พระสาสนวงศ์ ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุกับต้นโพธิ์ลังกาเข้ามาถวาย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยบอกว่า สมเด็จพระสังฆราชโปรดให้นำมา รัชกาลที่ 2 ทรงมีพระราชดำริว่า พระสงฆ์ในลังกาก็เป็นสมณวงศ์แบบเดียวกับพระสงฆ์ไทย เคยมีสัมพันธไมตรีติดต่อกันมาช้านาน ประกอบกับพระพุทธศาสนา ในลังกาเริ่มเศร้าหมอง  เพราะลังกาตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ รัชกาลที่ 2 จึงโปรดแต่งสมณทูตคณะหนึ่ง ประกอบด้วย
พระสงฆ์จำนวน 9 รูป มีพระอาจารย์ดีและพระอาจารย์เทพเป็นหัวหน้าเมื่อกลับมาถึงไทย  พระอาจารย์ดี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น พระคัมภีรปรีชา และพระอาจารย์เทพได้รับการแต่งตั้งให้เป็น พระปัญญาวิสารเถร นับเป็นสมณทูตไทยคณะแรก สมัยรัตนโกสินทร์ (เริ่มเดินทาง พ.ศ. 2357 กลับมาถึงประเทศไทย พ.ศ. 2361) ได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ จากเมืองอนุราธบุรี กลับมาโดยเชื่อกันว่าเป็นต้นโพธิ์เชื้อสายของพระศรีมหาโพธิ์ ที่พระพุทธเจ้านั่งตรัสรู้ จำนวน 6 ต้น โดยปลูกไว้ที่ รัฐกลันตัน 1 ต้น จังหวัดนครศรีธรรมราช 2 ต้น จังหวัดกรุงเทพฯ 3 ต้น โดยปลูกที่วัดสุทัศน์ฯ วัดมหาธาตุฯ วัดสระเกศฯ 

2. การฟื้นฟูการประกอบพิธีวันวิสาขบูชา
          
วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน ซึ่งไทยเราเคยจัดทำกันตั้งแต่สมัยสุโขทัย และเสื่อมหายไปในสมัยอยุธยา ธนบุรี ล่วงเลยมาถึงสมัยรัชกาลที่ 2 จึงมีการฟื้นฟูขึ้นอีกครั้ง โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดฯ ให้จัดพระราชพิธีอย่างใหญ่โต เริ่มตั้งแต่ วันขึ้น 14-15 ค่ำถึงวันแรม 1 ค่ำ รวม 3 วัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงรักษาพระอุโบสถศีล ปล่อยนก ปล่อยปลา ห้ามเสพสุรา ห้ามฆ่าสัตว์ ให้ถวายประทีป ตั้งโคม แขวนเครื่องสักการะบูชา เวียนเทียน ให้มีพระธรรมเทศนาในพระอารามหลวงและวัดราษฎร์ ถวายไทยทานตลอด 3 วัน

3. การบูรณะและ ปฎิสังขรณ์วัดวาอาราม อาทิ
    3.1
วัดอรุณราชวราราม ซึ่งถือว่าเป็นวันประจำรัชกาลที่ 2 เดิมชื่อ วัดบางมะกอก ในสมัยพระเจ้าตากสินยกทัพเรือมากอบกู้เอกราชกองทัพมาถึงหน้าวัดนี้สว่างพอดี เลยเรียกว่า วัดแจ้งวัดนี้ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตั้งพระทัยว่าจะสร้างใหม่ทั้งหมด จึงเริ่มสร้างพระอุโบสถและพระวิหาร และให้มีงานฉลองขึ้น ในปี พ.ศ. 2363 และพระราชทานนามว่า "วัดอรุณราชธาราม" จนถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดอรุณราชวราราม"
    3.2
วัดสุทัศน์เทพวราราม เริ่มสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 พอถึงสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงสร้างพระวิหารหลวงต่อจนยกเครื่องบนเสร็จ แต่ยังไม่มีช่อฟ้าใบระกา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงวางแบบแปลนไว้ และสร้างเสร็จในสมัยต่อมา นอกจากนี้ยังทรงบูรณะปฏสังขรณ์วัดอื่น ๆ อาทิ
    3.3
วัดโมฬีโลก
    3.4
วัดราชบูรณะ
    3.5
วัดราชาธิวาส
    3.6
วัดสุวรรณดาราราม (จ.อยุธยา)

4. การสังคายนา บทสวดมนต์ เนื่องจากในปีพุทธศักราช 2363 ได้เกิดอหิวาตกโรคระบาด บรรดาขุนนาง ไพร่ ทาส เสียชีวิตจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระราชดำริให้จัดงาน บำเพ็ญพระราชกุศล และมีการสังคายนาบทสวดมนต์ โดยแปลพระปริตรออกเป็นภาษาไทย และโปรดให้ขุนนางข้าราชการฝ่ายในฝึกสวดพระปริตรทุกวันเหมือนกับที่พระสงฆ์สวด

5. ปรับปรุงการสอบพระปริยัติยธรรม ในปี พ.ศ. 2359 กำหนดให้มีการสอบโดยกำหนดเป็นเปรียญ 3 ประโยค เปรียญ 4 ประโยค จนถึงเปรียญ 9 ประโยค ทำให้การเรียนรู้ด้านภาษาบาลีเจริญรุ่งเรืองขึ้นไปพร้อม ๆ กับความเจริญทางด้านพระพุทธศาสนา

6. การบูรณมหาชาติคำหลวง ในปี พ.ศ. 2357 รัชกาลที่ 2 ได้โปรดให้ประชุมนักปราญ์ชราชบัณฑิต ให้ช่วยกันแต่ง มหาชาติคำหลวง จนครบทั้ง 13 กัณฑ์

กัณฑ์ที่ 1 กัณฑ์ทศพร
กัณฑ์ที่ 2 กัณฑ์หิมพานต์
กัณฑ์ที่ 3 กัณฑ์ทานกัณฑ์
กัณฑ์ที่ 4 กัณฑ์วนประเวสน์
กัณฑ์ที่ 5 กัณฑ์ชูชก
กัณฑ์ที่ 6  กัณฑ์จุลพน
กัณฑ์ที่ 7 กัณฑ์มหาพน
กัณฑ์ที่ 8 กัณฑ์กุมาร
กัณฑ์ที่ 9 กัณฑ์มัทรี
กัณฑ์ที่ 10 กัณฑ์มหาราช
กัณฑ์ที่ 11 กัณฑ์สกบรรพ
กัณฑ์ที่12 กัณฑ์ ฉกษัตริย์
กัณฑ์ที่13 กัณฑ์นครกัณฑ์

7. ในสมัยนี้ยังได้พระพุทธบุษยรัตน์ มาจากจำปาศักดิ์ ในปี พ.ศ. 2355 พระพุทรูปองค์นี้ ทำด้วยแก้วผลึก ที่เรียกว่า เพชรน้ำค้างหรือ บุษย์น้ำขาว” พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้นำมา ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้อัญเชิญ พระพุทธบุษยรัตนฯ ไปประดิษฐาน ณ หอพระ พระที่นั่งอัมพรสถานสืบมาจนทุกวันนี้



ด้านเศรษฐกิจ 

           สมัยรัชกาลที่ 2 บ้านเมืองว่างจากการศึกสงคราม จึงมีการค้าขายเจริญรุ่งเรืองกว่าแต่ก่อนกล่าวคือ มีการติดต่อค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้านมากมาย เช่น จีน อินเดีย มะละกา สิงคโปร์ ญวน และเขมร เป็นต้น สำหรับประเทศทางตะวันตก
ได้แก่ โปรตุเกส อังกฤษ อเมริกาโดยวิธีดำเนินการค้าขาย ของหลวงยังคงให้พระคลังสินค้าจัดการ ตามที่เคย ปฎิบัติมา มีเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เป็นหัวแรง ในการแต่งสำเภาหลวงติดต่อค้าขายกับจีนและประเทศอื่น ๆ จนได้รับพระราชทานสมญาว่าเจ้าสัว
ในรัชการนี้มีเรือกำปันหลวงที่ใช้ในการค้าขายที่สำคัญ 2 ลำ คือ เรือมาลาพระนครและเรือเหราข้ามสมุทร สินค้าที่ผูกขาย ในสมัยนี้ ที่เป็นสินค้าขาออกมี 10 ชนิด คือ รังนก ฝาง ดีบุก พริกไทย เนื้อไม้ ผลเร่ว ตะกั่ว งาช้าง รงและช้าง สินค้า ที่ห้ามส่งออกโดยเด็ดขาด คือ ข้าวเปลือกและข้าวสาร ส่วนสินค้าขาเข้าก็มี ปืนและดินปืน
การปรับปรุงภาษีอากร ลักษณะการเก็บภาษีอากรยังคงเหมือนสมัยรัชกาลที่1 มีการปรับปรุงเพิ่มเติมดังนี้
          1 .
การเดินสวน คือการแต่งเจ้าพนักงานออกไปสำรวจสวนของราษฎร ์ในการเก็บอากรสวนตามชนิดของ ผลไม้ ดังนี้
                    1.1 
อากรสวนใหญ่ เป็นการเก็บภาษีจากผลไม้ยืนต้นชั้นดี มี 7 ชนิด ได้แก่
ทุเรียน มังคุด มะม่วง มะปราง ลางสาด หมากและพลูค้างทองหลาง
                   1.2 
พลากร เป็นภาษีที่เก็บจากผลไม้ชั้นรอง มี 8 ชนิด ได้แก่
ขนุน สะท้อน เงาะ ส้ม มะไฟ ฝรั่ง สับปะรดและสาเก
                   1.3 
อากรสมพัตสร เป็นภาษีที่เก็บจากผลไม้ล้มลุก เช่น กล้วย อ้อย เป็นต้น
           2 .
การเดินนา คล้ายกับการเดินสวน การเก็บอากรค่านา เรียกว่า หางข้าวโดยแบ่งนาออกเป็น 2 ประเภท คือ นาน้ำท่า และนางฟางลอย
                   2.1 
นาน้ำท่า หรือ นาคู่โค หมายถึงนาที่สามารถปลูกข้าวได้หลายครั้งในหนึ่งปีโดยอาศัยน้ำฝนหรือน้ำท่า วิธีการเก็บภาษี หรือหางข้าว*ของนาประเภทนี้ เก็บด้วยวิธีดูคู่โคคือการนับโคหรือกระบือที่ใช้ไถนาโดยการคำนวณว่าโคหนึ่งคู่จะสามารถใช้ทำนาในผืนดินที่นานั้น ๆ ได้ปีละเท่าใดแล้วเอาเกณฑ์จำนวนโคขึ้นจั้งเป็นอัตราหางข้าวที่จะต้องเสียภาษี นาประเภทนี้จึงเรียกอีกนัยหนึ่งว่า "นาคู่โค" ฉะนั้นนาคู่โคนี้ราษฎรจะทำนาหรือไม่ก็ตามก็จะต้องเสียภาษี(หางข้าว)ตลอดไป เมื่อทางราชการ จัดพนักงานหรือข้าหลวงเดินนามาสำรวจแล้วรัฐบาลจะออกหนังสือให้เจ้าของที่นาถือไว้เป็นหลักฐานในการเรียกเก็บหางข้าวหรืออากร
ค่านาต่อไป หนังสือสัญญานี้เรียกว่า "ตราแดง"
                     2.2 
นาฟางลอย หรือ นาดอน หมายถึงนาที่สามารถปลูกข้าวโดยอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว เป็นนาในที่ดอนน้ำท่าขึ้นไม่ถึง วิธีเก็บภาษีหางข้าวสำหรับนาประเภทนี้เก็บจากนาที่สามารถปลูกข้าวได้จริง ถ้าปีใดไม่ได้ทำหรือทำไม่ได้ ก็ไม่ต้องเสียอากรค่านาและถือเอาตอฟางที่เก็บเกี่ยวแล้ว เป็นเกณฑ์ในการเก็บค่านา เมื่อทางราชการ จัดพนักงานหรือข้าหลวงเดินนา
มาสำรวจแล้ว รัฐบาลจะออกหนังสือให้เจ้าของที่นาถือไว้เป็นหลักฐานในการเรียกเก็บหางข้าวหรืออากรค่านาต่อไป หนังสือสัญญานี้
เรียกว่า "ใบจอง"

*หางข้าว หมายถึงภาษีหรืออากรค่านา ที่รัฐบาลเก็บเป็นข้าวเปลือกในสมัยรัชกาลที่ 2 คิดอากรค่านาในอัตราไร่ละ สองสัดครึ่ง

มาตรา ตวงความจุไทย
เทียบมาตราตวงความจุเมตริก-ไทย

20 
ทะนาน
=
1
ถัง
50 
ถัง 
=
1
บั้น
บั้น   
=
1
เกวียน
100
ถัง
=
1
เกวียน
1
ทะนาน
=
1
ลิตร
1
บั้น 
=
1
กิโลลิตร
1
เกวียน
=
2
กิโลลิตร
1
เกวียน
=
2000
ลิตร
1 สัด = 20 ลิตร



ขอบคุณที่มาจาก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น