วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ผู้จัดทำสื่อ


เค้าโครงโครงงานคอมพิวเตอร์

ชื่อโครงงาน                          ราชวงศ์จักรี
สาขาของงานวิจัย              โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
ชื่อผู้ทำโครงงาน                  1.นายสุทัศน์                         ยิ้มเยื้อน
                                                2.นายสุรเดช                        อาจสิงห์
                                                3.นางสาววรรณพร             ภิญโญวรภาค
                                                4.นางสาวสิริกัญญา            เกิดโชติ
                                                5.นางสาวปาริฉัตร              มานะโพน
                                                6.นางสาวณัฐกานต์            จงธรรมมา
                                                7.นางสาวญาดา                   พ่วงคง
                                                8.นางสาวปวีณา                  ผาวัน
                                                9.นางสาวนิศาชล                หาญกุล
                                                10.นางสาววรรณิภา           อนันทสุข
                                                11.นางสาวสุกัญญา            นิมิตรุ่งโรจน์
                                                12.นางสาวนิพาดา              อรัญวงศ์
                                                13.นางสาวสุดารัตน์           เลิศสัจธรรม
                                                14.นางสาวกมลรัตน์          แท่นจินดารัตน์
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา            นายบัญชา             ปลื้มอารมณ์
                                                นางสาวมาณี        คุสิตา
ระยะเวลาการดำเนินงาน  4 เดือน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556

เค้าโครงโครงงานสื่อ

1.รายละเอียดที่มาและความสำคัญ
                ชาวไทยทุกคนถือกำเนิดบนผืนแผ่นดินไทย มีบรรพบุรุษสืบทอดต่อกันมา หลายชั่วอายุคน รวบรวมสร้างปึกแผ่น ผืนแผ่นดินไทยที่มั่นคง รับ ปรับ เปลี่ยน พัฒนา อารยธรรมสิ่งใหม่ๆ ให้ทันสมัยตามชาติตะวันตก แต่ในขณะเดียวกันเยาวชนรุ่นใหม่จะทราบหรือไม่นั้นว่า พระมหากษัตรย์พระองค์ต่างๆแห่งราชวงศ์จักรี พระองค์ทรงสร้างอะไรให้กับประเทศเราบ้าง ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวอย่างยิ่ง แต่ในขณะเดียวกันเราได้มีการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ทำให้เราทราบถึงประวัติและพระราชกรณียกิจต่างๆของพระองค์ แต่ก็เป็นเพียงความรู้คร่าวๆเท่านั้น
                แต่ ณ ปัจจุบันนี้ เยาวชนไทยและสังคมไทยสามารถเข้าถึงโลกแห่งการติดต่อสื่อสารอย่างไร้ขอบเขต นั่นก็คืออินเตอร์เน็ต และสื่อ social media ต่างๆ ที่สามารถค้นหาข้อมูลได้เร็วทันใจ และน่าสนใจอย่างยิ่ง
                หากแต่ถ้าพูดถึงเว็บไซต์ที่ให้บิการข้อมูลด้านต่างๆก็มีอยู่มากมายและที่สำคัญมีบริการอีกหนึ่งบริการที่เสามารถเป็นเจ้าของ สร้างโฒษณา สร้างรายได้ แบ่งปันข้อมูลข่าวสารได้นั่นก็คือการสร้างไดอารี่บนโลกออนไลน์ หรือ เรียกสั้นๆว่า บล็อก (BLOG) ที่สามารถสร้างง่าย ใช้เนื้อที่ไม่มาก และที่สำคัญขั้นตอนการทำงานไม่ยาก
                ดังนั้นกลุ่มของดิฉันจึงได้ทำการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา ความรู้เกี่ยวกับราชวงศ์จักรีมาปรับปรุงพัฒนาบล็อก เพื่อนแบ่งปันความรู้ด้านประวัตืศาสตร์ พระราชกรนียกิจของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เพื่อง่ายต่อการค้นคว้าของผู้ที่สนใจ และ ต้องการค้นหาข้อมูล

2.วัตถุประสงค์
                1.เพื่อนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                2.เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับราชวงศ์จักรี
                3.เพื่อศึกษาการทำ BLOG
                4.เพื่อเพิ่มทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์
                5.เพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้สำหรับผู้ที่สนใจ ต้องการทราบถึงราชวงศ์จักรี






3.หลักการและทฤษฎี
บล็อกมาจากการผสมคำระหว่าง  WEB ( Wolrd Wide Web) +LOG (บันทึก)  = BLOG  คือ เว็บไซต์ที่เจ้าของ หรือ Blogger สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา  การสร้างเว็บบล็อกสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ซับซ้อน ไม่เสียสตางค์ ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML อย่างน้อยขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์
ภายในเว็บบล็อก จะมีระบบบริหารจัดการเว็บไซต์พื้นฐานให้แล้ว โดยการสร้างเครื่องมือสำหรับ เขียนเรื่อง โพสรูป จัดหมวดหมู่ และลูกเล่นอื่นๆ ที่ผู้จัดทำพยายามสร้างเพื่อดึงดูดผู้คนจากทั่วโลก ให้เข้าไปใช้บริการ เสน่ห์ของบล็อกอยู่ที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถโต้ตอบกันได้ (Interactive) โดยการแสดงความคิดเห็นต่อท้ายที่เรื่องนั้นๆ
บางคนมองว่าการเขียนบล็อก ก็คือการเขียนไดอารี่ออนไลน์ แท้ที่จริง ไดอารี่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบล็อกเท่านั้น คุณเปิดบล็อกขึ้นมาไม่ใช่เพื่อเขียนเรื่องราวในชีวิตประจำวันอย่างเดียว แต่สามารถใส่ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อเป็นวิทยาทานให้คนอื่นๆ เช่น คุณหมอ เปิดบล็อกแนะนำเรื่องสุขภาพ เป็นต้น
บล็อก คือ สื่อใหม่ (New Media) เป็นปรากฎการณ์ที่เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารในอดีตอย่างสิ้นเชิง คนเขียนบล็อก สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งสื่อสารมวลชน เขาสามารถสื่อสารกันเองในกลุ่มเล็กๆ หรือกลุ่มใหญ่ก็ได้ ถ้าเรื่องไหน เป็นที่ถูกใจ ของชาวบล็อก ชาวเน็ต คนๆ นั้น อาจจะดังได้เพียงชั่วข้ามคืน โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยสื่อหลักช่วยเลย

4.วิธีดำเนินงาน
เทคโนโลยีที่ใช้โปรแกรมนี้จะมี 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ
                -Input ซึ่งรับค่ามาจาก mouse และ keyboard แล้วนำมาประมวลผลส่งต่อไปยังตัวโปรแกรม
                -Output แสดงผลออกมาทางหน้าจอ monitor
เว็บไซต์ที่ใช้ในการพัฒนา
                - www.google.com
                - www.blogger.com





รายละเอียดโปรแกรมที่พัฒนา
                การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาโดยการสร้างบล็อก ประชาสัมพันธ์ข้อมูล ซึ่งการสร้างบล็อกนี้เราสามารถสร้าง แก้ไขงานได้ตลอดเวลา ในเว็บไซต์จะมีการแนะนำการใช้บล็อก การสร้างรูปแบบต่างๆที่นำเสนอ เพื่อให้ตรงกับการใช้งานและความเหมาะสม ตามรูปแบบของบล็อกที่วางไว้ ที่สำคัญเรายังสามารถเพิ่มลูกเล่นสีสันต่างๆ ให้เหมาะสม สะดวกต่อการค้นหาข้อมูล ของผู้ที่ต้องการค้นหามูลต่างๆจากบล็อกเรา อาทิ การสร้างสถิติการเข้าชมบล็อกเรา แถบรูปภาพ การแนะนำวิดีโอจากยูทูป เป็นต้น



5.แผนปฏิบัติงาน
ลำดับที่
กิจกรรม
เดือนที่ 1
เดือนที่ 2
เดือนที่ 3
เดือนที่ 4
1
2
3
4
1
2
3
4
1
2
3
4
1
2
3
4
1.
ศึกษาประวัติราชวงศ์จักรี
















2.
ออกแบบรายละเอียดของ BLOG
















3.
ศึกษารายละเอียดการสร้าง BLOG
















4.
ออกแบบโครงสร้างการนำเสนอ
















5.
พัฒนา BLOG
















6.
ทดสอบ ปรับปรุง แก้ไข BLOG
















7.
จัดทำรายงาน ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ BLOG

















6.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                1. เยาวชนรุ่นใหม่ ทราบแล้วเข้าใจประวัติของราชวงศืจักรี
                2.สร้างเครือข่าย และประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่างๆ
                3.สามารถต่อยอด พัฒนาในด้านต่างๆเพิ่มได้อีก
7.เอกสารอ้างอิง

                www.oknation.net/blog/manual/2006/12/22/entry-4

คำนำสื่อ

คำนำสื่อ


                ชาวไทยทุกคนถือกำเนิดบนผืนแผ่นดินไทย มีบรรพบุรุษสืบทอดต่อกันมา หลายชั่วอายุคน รวบรวมสร้างปึกแผ่น ผืนแผ่นดินไทยที่มั่นคง รับ ปรับ เปลี่ยน พัฒนา อารยธรรมสิ่งใหม่ๆ ให้ทันสมัยตามชาติตะวันตก แต่ในขณะเดียวกันเยาวชนรุ่นใหม่จะทราบหรือไม่นั้นว่า พระมหากษัตรย์พระองค์ต่างๆแห่งราชวงศ์จักรี พระองค์ทรงสร้างอะไรให้กับประเทศเราบ้าง ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวอย่างยิ่ง แต่ในขณะเดียวกันเราได้มีการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ทำให้เราทราบถึงประวัติและพระราชกรณียกิจต่างๆของพระองค์ แต่ก็เป็นเพียงความรู้คร่าวๆเท่านั้น
แต่ ณ ปัจจุบันนี้ เยาวชนไทยและสังคมไทยสามารถเข้าถึงโลกแห่งการติดต่อสื่อสารอย่างไร้ขอบเขต นั่นก็คืออินเตอร์เน็ต และสื่อ social media ต่างๆ ที่สามารถค้นหาข้อมูลได้เร็วทันใจ และน่าสนใจอย่างยิ่ง
หากแต่ถ้าพูดถึงเว็บไซต์ที่ให้บิการข้อมูลด้านต่างๆก็มีอยู่มากมายและที่สำคัญมีบริการอีกหนึ่งบริการที่เสามารถเป็นเจ้าของ สร้างโฒษณา สร้างรายได้ แบ่งปันข้อมูลข่าวสารได้นั่นก็คือการสร้างไดอารี่บนโลกออนไลน์ หรือ เรียกสั้นๆว่า บล็อก (BLOG) ที่สามารถสร้างง่าย ใช้เนื้อที่ไม่มาก และที่สำคัญขั้นตอนการทำงานไม่ยาก
ดังนั้นกลุ่มของดิฉันจึงได้ทำการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา ความรู้เกี่ยวกับราชวงศ์จักรีมาปรับปรุงพัฒนาบล็อก เพื่อนแบ่งปันความรู้ด้านประวัตืศาสตร์ พระราชกรนียกิจของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เพื่อง่ายต่อการค้นคว้าของผู้ที่สนใจ และ ต้องการค้นหาข้อมูล
            บล็อกนี้ใช้ระยะเวลาในการพัฒนาไม่มาก ซึ่งอาจมีข้อผิดพลาดบางประการต้องขออภัย มา ณ โอกาสนี้ หากมีข้อเสนอหรือแนะนำประการใด ยินดีน้อมรับไว้ด้วยความเต็มใจ เพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม



ผู้จัดทำ

รัชกาลที่ ๑


ประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 1 ( พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ) ( พ.ศ. 2325 - 2352 )               พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระนามเดิมว่า ทองด้วง เกิดเมื่อ แรม 5 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง จุลศักราช 1098                                               ตรงกับวันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นบุตรคนที่ 4 ของหลวงพินิจอักษร ( ทองดี ) กับ นางดาวเรือง ( หยก ) มีพี่น้องดังนี้
คนที่ 1 เป็นหญิงชื่อ สา ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น พระเจ้าพี่นางเธอ กรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี
คนที่ 2 เป็นชายชื่อ ขุนรามณรงค์ ถึงแก่กรรมก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2
คนที่ 3 เป็นหญิงชื่อ แก้ว ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอ กรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์
คนที่ 4 เป็นชายชื่อ ทองด้วง ( รัชกาลที่ 1 )
คนที่ 5 เป็นชายชื่อ บุญมา ( กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท )
เมื่อเจริญวัยได้เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในสมัยสมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิจ ( ขุนหลวงดอกมะเดื่อ )
พ.ศ. 2300 อายุ 21 ปีได้บวช ณ วัดมหาทลาย เมื่อลาสิกขาบทแล้วกลับเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กหลวง
พ.ศ. 2303 อายุ 24 ปี ได้สมรสกับนางสาวนาก ธิดาของคหบดีตำบลอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม
พ.ศ. 2304 อายุ 25 ปีในสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาสอมรินทร์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นหลวงยกบัตรเมืองราชบุรี
พ.ศ. 2311 ในสมัยพระเจ้าตากสิน ได้รับราชการมีฐานันดรศักดิ์เป็น พระราชวรินทร์ ( กรมพระตำรวจหลวง )
เมื่อเสร็จศึกในการปราบชุมนุมพิมาย ได้เลื่อนขึ้นเป็น พระยาอภัยรณฤทธิ์
พ.ศ. 2313 เมื่อครั้งปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง มีความชอบได้เป็นพระยายมราช และทำหน้าที่สมุหนายกอีกด้วย
พ.ศ. 2314 ได้เลื่อนขึ้นเป็น เจ้าพระยาจักรี คุมทัพไปรบกับพม่าเสร็จศึกพม่าแล้ว ได้ยกทัพไปตีเขมรมาเป็นเมืองขึ้น พ.ศ. 2319 เป็นแม่ทัพไปตีเขมรป่าดง ( สุรินทร์ ขุขันธ์ สังขะ ) แคว้นลาวทางใต้ ได้เมืองจำปาศักดิ์ สีทันดร อัตตะปือ เสร็จศึกได้เลื่อนขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พิลึกมหมา ทุกนัคราระอาเดช นเรศรราช สุริยวงศ์ องค์อัครบาทมุลิกากร บวรรัตนปรินายก
พ.ศ. 2324 ยกทัพไปปราบจลาจลในเขมรแต่ไม่สำเร็จเพราะเกิดกบฏในกรุงธนบุรีต้องยกทัพกลับ
พ.ศ. 2325 อาณาประชาราษฏร์ กราบทูลเชิญขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อ 6 เมษายน 2325 อยู่ในราชสมบัติ 27 ปี เสด็จสวรรคต 7 กันยายน 2352 รวมพระชนมายุ 73 พรรษา ครองราชย์ นาน 28 ปี มีโอรสธิดารวม 42 พระองค์
การตั้งพระบรมวงศานุวงศ์เมื่อเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ ปราบดาภิเษกขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ( รัชกาลที่ 1 ) ก็ทรงประกาศสถาปนา พระราชวงศ์ ตามโบราณราชประเพณีปราบดาภิเษก ประดิษฐานพระราชวงศ์ใหม่
ชื่อพระราชนามเต็ม
สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร ธรณินทราธิราชรัตนากาศภาศกรวงษ องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรนาถนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไศรย สมุทัยคโรมนต์ สกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร หริหรินทราชาดาธิบดี ศรีสุวิบุลยคุณอัขณิฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราช เดโชไชยพรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร ภูมินทรปรมาธิเบศรไลกเชฐวิสุทธรัตนมงกุฏ ประเทศคตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว คือ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
"นามมหาราช" ได้เมื่อครั้งเฉลิมฉลองกรุงเทพมหานครครบ 200 ปี ในสมัยรัชกาลปัจจุบัน

เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเคยมีฐานันดรศักดิ์ เป็นเจ้าพระยาจักรีมานานจึงตกลงเรียก พระราชวงศ์ใหม่ว่า “พระบรมราชวงศ์จักรี”
พระราชลัญจกร ประจำรัชกาลที่ 1
เป็นรูปปทุมอุณาโลม มีอักขระ "อุ" อยู่กลาง ล้อมรอบด้วยกลีบบัวอันเป็น พฤกษชาติที่เป็นสิริมงคลในพุทธศาสนา ตราอุณาโลมมีรูปร่างคล้ายสังข์เวียนขวา อยู่ในกรอบลายกนก เริ่มใช้คราวพระราช พิธีบรมราชาภิเษก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘
การตั้งพระบรมวงศานุวงศ์
ทรงสถาปนาพระราชวงศ์และข้าราชการที่ทำความดีความชอบขึ้นดำรงตำแหน่งที่สำคัญดังนี้
1. โปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราช ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช หรือ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ( วังหน้า )นามว่า “ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท”
2. สถาปนาพระโอรสองค์ใหญ่ ( 
ฉิม ) เป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ต่อมาภายหลังได้เป็นกรมพระราชวังบวรมหาอิศรสุนทร ในตำแหน่งวังหน้า หลังจาก กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทิวงคตแล้ว
3. สถาปนาพระโอรสองค์รอง ( 
จุ้ย ) เป็นเจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์

4. สถาปนาพระยาสุริยอภัย ( 
ทองอิน ) พระเจ้าหลานเธอ เป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ หลังจากเสร็จศึกสงครามเก้าทัพแล้ว พ.ศ. 2328 ได้ขึ้นเป็น กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข ( วังหลัง ) ซึ่งตำแหน่งวังหลังนี้ มีครั้งเดียวในสมัยรัตนโกสินทร์
5. สถาปนาเจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ โอรสของพระเจ้าตากสินอันเกิดจากพระราชธิดาองค์ใหญ่ของรัชกาลที่ 1 ซึ่งมีพระนามเดิมว่า ( ฉิมใหญ่ ) ขึ้นเป็น เจ้าฟ้า
กรมขุนกระษัตรานุชิต

นอกจากนี้ยังได้โปรดให้สถาปนา สมเด็จพระพี่นางเธอ สมเด็จพระเจ้าน้องญาเธอ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ ขึ้นเป็นเจ้าต่างกรม ตั้งแต่กรมหมื่น จนถึงกรมพระอีก รวมหลายพระองค์ด้วยกัน
พระราชลัญจกร คือตราที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้ประทับ กำกับพระปรมาภิไธยและประทับกำกับเอกสารสำคัญ ที่ออกในพระปรมาภิไธย เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงพระราชอำนาจ และพระราชลัญจกรประจำแผ่นดินหรือประจำรัชกาลนั้น ยังเป็นเครื่องมงคลอีกด้วย ดังที่ปรากฎอยู่ในหมวดพระราชสิริซึ่งประกอบด้วย พระสุพรรณบัตร ดวงพระราชสมภพและ พระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน ซึ่งจะต้องเชิญขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พร้อมกับเครื่องมงคลอื่น ๆ 
พระราชลัญจกรมี ๔ ประเภท คือ
1. พระราชลัญจกรสำหรับแผ่นดิน ใช้ประทับกำกับเอกสารสำคัญที่ออกในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
เช่น พระราชลัญจกรมหาโองการ พระราชลัญจกรไอยราพต
2. พระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน หรือประจำรัชกาล ใช้ประทับกำกับพระบรมนามาภิไธยในเอกสารสำคัญ
3. พระราชลัญจกรประจำพระองค์ ใช้ประทับกำกับพระบรมนามาภิไธย ในเอกสารสำคัญส่วนพระองค์
ที่ไม่เกี่ยวด้วยราชการแผ่นดิน
4. พระราชลัญจกรประจำเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ ใช้ประทับประกาศนียบัตรเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ตามที่ กำหนดไว้



กวีและวรรณกรรม

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสนับสนุนและสนใจในด้านวรรณกรรมอย่างมาก พระองค์ทรงส่งเสริมและสนับสนุน บรรดากวีต่าง ๆ ให้มาอยู่ในความดูแลของราชสำนัก ทั้งที่เป็นฆราวาสและเพศบรรชิต ผลงานของกวี และวรรณกรรมที่สำคัญในสมัยนี้ได้แก่
1. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
 มีผลงานที่พระราชนิพนธ์
คำกลอนบทละครเรื่องรามเกียรติ์
คำกลอนบทละครเรื่องอิเหนา มีทั้งอิเหนาใหญ่ ( ดาหลัง ) และอิเหนาเล็ก ( อิเหนา )
คำกลอนบทละครเรื่องอุณรุท
กลอนเพลงยาวนิราศเรื่องรบพม่าที่ท่าดินแดงหรือที่เรียกว่า นิราศท่าดินแดง
พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ ( เจิม )
2. เจ้าพระยาพระคลัง ( หน )
 มีผลงานที่สำคัญในสมัยนี้
แปลและเรียบเรียงพงศาวดารจีนเรื่อง สามก๊ก แปลและเรียบเรียง จากภาษามอญเรื่องราชาธิราช
บทมโหรีเรื่องกากี ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง ร่ายยาวมหาชาติกัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี

3. พระธรรมปรีชา ( แก้ว ) มีผลงานที่สำคัญ
ไตรภูมิโลกวินิจฉัย
รัตนพิมพวงศ์ ( แปล )
มหาวงศ์ ( แปล )
4. พระเทพโมลี ( กลิ่น ) เป็นพระภิกษุ มีผลงานที่สำคัญ
ร่ายยาวมหาชาติกัณฑ์มหาพนธ์
นิราศตลาดเกรียบ
โคลงกระทู้เบ็ดเตล็ดต่าง ๆ
5. สมเด็จพระพนรัตน์ หรือ วันรัตน์
สังคีติยวงศ์
มหายุทธการวงศ์
จุลยุทธการวงศ์




ด้านการปกครอง

1. การปกครองในราชธานี หรือระเบียบบริหาราชการส่วนกลาง
ยังคงใช้ตามแบบกรุงศรีอยุธยาคือตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี 2 ฝ่ายได้แก่
1.1 ฝ่ายทหาร คือเสนาบดีกรมพระกลาโหม ( สมุหพระกลาโหม ) มีอำนาจหน้าที่ บังคับบัญชา ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ ใช้ 
ตราคชสีห์ เป็นตราประจำตำแหน่ง
1.2 ฝ่ายพลเรือน คือ เสนาบดีกรมมหาดไทย ( สมุหนายก ) มีอำนาจหน้าที่ บังคับบัญชา ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ ใช้ ตราราชสีห์ เป็นตราประจำตำแหน่ง
นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งเสนาบดีจตุสดมภ์ ช่วยบริหารงาน 4 ฝ่าย ประกอบด้วย
1.2.1 กรมพระนครบาล ( กรมเวียง )
1.2.2 กรมพระธรรมาธิกรณ์ ( กรมวัง )
1.2.3 กรมพระโกษาธิบดี ( กรมคลัง )
1.2.4 กรมพระเกษตราธิการ ( กรมนา ) 
         กรมพระนครบาล (กรมเวียง) หรือ กรมเมือง เสนาบดีคือ พระยายมราช(พระยานครบาล) มีอำนาจหน้าที่ปกครองดูแลราษฎรในเขตกรุง รักษาความสงบเรียบร้อยและปราบโจรผู้ร้าย มีตราพระยมทรงสิงห์ เป็นสัญลักษณ์ประจำตำแหน่ง
          กรมพระธรรมาธิกรณ์ (กรมวัง)เสนาบดี คือ พระยาธรรมา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการในราชสำนัก จัดการพระราชพิธีทั่วไป รวมทั้งพิจารณาคดีที่พระมหากษัตริย์จะต้องวินิจฉัยด้วย จึงได้นามอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมาธิกรณ์ หมายถึง ผู้วินิจฉัยคดีพิพาท ให้เป็นธรรม ใช้ตราเทพยดาทรงพระนนทิการ (เทวดาทรงพระโค ) เป็นสัญลักษณ์
          กรมพระโกษาธิบดี (กรมคลัง) หรือ กรมท่า มีอำนาจหน้าที่ บังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก ใช้ตราบัวแก้วเป็นสัญลักษณ์ แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเป็น ฝ่ายการเงิน มีหัวหน้าคือ พระยาราชภัคดี
ฝ่ายการต่างประเทศ มีหัวหน้าคือ พระยาศรีพิพัฒน์
ฝ่ายตรวจบัญชีและดูแลหัวเมืองชายทะเลตะวันออก มีหัวหน้าคือ พระยาพระคลัง(พระยาโกษาธิบดี)
          กรมพระเกษตราธิการ ( กรมนา) เสนาบดี คือ พระยาพลเทพ (พระยาเกษตราธิการ)มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษานาหลวง เก็บหางข้าว ค่านา จัดเก็บและรักษาเสบียง อาหารสำหรับพระนคร พิจารณาคดีเกี่ยวกับที่นา ใช้ตราพระพิรุณทรงนาคเป็นสัญลักษณ์


2. การปกครองหัวเมือง หรือ ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองหัวเมือง คือการบริหารราชการแผ่นดินตามหัวเมืองต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
2.1 หัวเมืองชั้นใน
2.2 หัวเมืองชั้นนอก
2.3 หัวเมืองประเทศราช

  หัวเมืองชั้นใน เดิมเรียกว่าเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน เมืองชั้นใน จะตั้งอยู่รอบเมืองหลวง ถือว่าเป็นบริวารของเมืองหลวง เมืองชั้นในไม่ได้เป็นเมืองอย่างแท้จริง เพราะไม่มีเจ้าเมืองปกครอง มีแต่ผู้รั้ง หรือ จ่าเมือง ทำหน้าที่ดูแล ไม่มีอำนาจอย่างเจ้าเมือง การบริหารงานต้องรับคำสั่งจากเสนาบดีจัตุสดมภ์ หรือ ฟังคำสั่งจากเมืองหลวง หัวเมืองชั้นใน มีความสำคัญเป็นเมืองระดับชั้นจัตวา

  หัวเมืองชั้นนอก(เมืองพระยามหานคร) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักร เมืองเหล่านี้จัดแบ่งเป็นระดับชั้น ตามขนาด จำนวนพลเมือง ความสำคัญ แบ่งเป็นชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี และอาจมีเมืองเล็ก ๆ ( เมืองชั้นจัตวา ) อยู่ใต้สังกัด เจ้าเมืองเหล่านี้ มีอำนาจสิทธิ์ขาดในเมืองของตน แต่ต้องปฏิบัติตามพระราชโองการและนโยบายจากเมืองหลวงตามเขตความรับผิดชอบกล่าวคือหัวเมืองที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือและภาคอิสาน อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหนายก
หัวเมืองที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ อยูในความรับผิดชอบของสมุหกลาโหม
หัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมท่า ( พระยาพระคลัง )
หัวเมืองที่ สังกัดกรมท่า มี 9 เมือง ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ สาครบุรี สมุทรสงคราม ชลบุรี บางละมุง ระยองจันทบุรี ตราด
เมืองชั้นเอก พระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งเจ้าเมืองเอง ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่ พิษณุโลก นครราชสีมา นครศรีธรรมราช ถลาง และสงขลา
เมืองชั้นโท ตรี และจัตวา เสนาบดีที่รับผิดชอบเป็นผู้แต่งตั้งเจ้าเมือง

 หัวเมืองประเทศราช (เมืองขึ้น) เป็นเมืองของชาวต่างชาติต่างภาษา หรือ ประเทศเหล่านั้นยอมอยู่ภายใต้การคุ้มครองของไทย มีเจ้าเมืองหรือกษัตริย์ ปกครองกันเอง ตามจารีตประเพณีของแต่ละชาติ การเป็นเจ้าเมืองหรือกษัตริย์ จะต้องบอกหรือเข้ามากราบบังคมทูล ขอให้เป็นผู้แต่งตั้งให้ โดยเมืองขึ้นมีหน้าที่ส่งเครื่องราชบรรณาการ และต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองมาให้ โดยปรกติจะจัดส่ง 3 ปีต่อครั้ง ต้องเกณฑ์ทัพมาช่วยถ้ามีศึกสงคราม
ประเทศราชในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่ ล้านนา (เชียงใหม่ ) ลาวหรือล้านช้าง( หลวงพระบาง เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ ) เขมร ( กัมพูชา ) หัวเมืองมลายู ( ปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู )


ด้านกฎหมายและการศาลไทย
กฎหมายไทยนั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียที่เรียกว่า คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ หรือคัมภีร์ธรรมสัตถัมของอินเดีย ซึ่งไทยได้รับการถ่ายทอดมาจากมอญอีกต่อหนึ่ง ในการตัดสินคดีความนั้นจะมีพราหมณ์ ที่เรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง จำนวน 12 คนไปผู้ชี้ตัวบทกฎหมายว่าใครผิดใครถูก จากนั้นจึงส่งเรื่องไปให้ตุลาการบังคับคดี หรือ ลงโทษผู้กระทำผิดตามที่ลูกขุนตัดสิน
พระธรรมศาสตร์ เป็นบทบัญญัติที่ว่าด้วยสิทธิหน้าที่ของบุคคลทั้งทางแพ่งและอาญา ซึ่งเทียบได้กับกฎหมายแม่บทของไทยในปัจจุบันคือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์จะตราพระราชกำหนดกฎหมายใด ๆ ต้องคำนึงถึงพระธรรมศาสตร์ จะทรงตรากฎหมายให้ขัดกับพระธรรมศาสตร์ไม่ได้ กฎหมายที่ใช้เป็นบรรทัดฐานในการปกครองประเทศอีกประเภทหนึ่งคือ พระราชศาสตร์ เป็นพระราชวินิจฉัยในอรรถคดีต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์ เป็นบทบัญญัติปลีกย่อย จากพระธรรมศาสตร์ เรียกว่า สาขาคดี
ในการไต่สวนพิจารณาคดีในสมัยโบราณ เนื่องจากยังขาดความรู้ในเรื่องการสอบสวน จึงนิยมใช้วิธีการแบบจารีตนครบาล โดยการทรมานผู้ต้องหาให้รับสารภาพ เช่น ตอกเล็บ เฆี่ยนตี ลุยเพลิง เสี่ยงเทียน บีบขมับ 
การแก้ไขกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2347 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้ชำระกฎหมาย อันเนื่องมาจาก อำแดงป้อมฟ้องหย่า นายบุญศรีผู้เป็นสามี มีอาชีพเป็นช่างเหล็กหลวง ซึ่งอำแดงป้อมมีชู้ แต่กลับมาฟ้องหย่าสามี ในสมัยนั้นถ้าภรรยาฟ้องหย่าตามกฎหมายภรรยาจะได้ทรัพย์สินก่อนแต่งงานเป็นของตน รัชกาลที่ 1 เห็นว่าไม่ถูกต้อง จึงโปรดให้ชำระกฎหมายใหม่ โดยโปรดเกล้าฯ ให้จัดข้าทูลละอองธุลีพระบาท ประกอบด้วยอาลักษณ์ 4 นาย ฝ่ายลูกขุน 3 นาย ฝ่ายราชบัณฑิต 4 นาย รวม 11 นาย ร่วมกันชำระพระราชกำหนดบทพระอัยการในแผ่นดิน ตั้งแต่พระธรรมศาสตร์ลงมา โดยจัดเป็นหมวดหมู่และปรับปรุงให้ยุติธรรมยิ่งขึ้น เมื่อชำระเสร็จ เรียบร้อยแล้ว ได้โปรดให้อาลักษณ์คัดลอกไว้รวม 3 ชุด โดยเก็บรักษาไว้ที่ห้องเครื่องชุดหนึ่ง หอหลวงชุดหนึ่ง ศาลหลวงชุดหนึ่ง โดยให้ประทับตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ และตราบัวแก้ว ไว้เป็นสำคัญทุกเล่ม ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกว่า กฎหมายตราสามดวง หรือ ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1



ด้านศาสนา 1. การสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม
2. การจัดระเบียบสังฆมณฑล
3. การสังคายนาพระไตรปิฎก
4. การรวบรวมพระพุทธรูปโบราณ
5. การตรากฎหมายพระสงฆ์
1. การสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม
เมื่อมีการสร้างพระนครขึ้นใหม่ รัชกาลที่ 1 ได้พยายามสร้างราชธานีให้เหมือนกรุงศรีอยุธยา แม้แต่วัดวาอารามก็ให้มีชื่อ เหมือนกับวัดในสมัยอยุธยา อาทิ
การสร้าง
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ให้อยู่ในเขตพระราชฐานเป็นพุทธาวาส ก็เลียนแบบวัดพระศรีสรรเพชญ อยุธยา
สร้างวัดมหาสุทธาราม ( วัดสุทัศน์เทพวราราม ) เพื่อเป็นที่ประดิษฐาน พระศรีศากยมุนี โดยสร้างเลียนแบบ วัดพนัญเชิง
นอกจากวัดที่สร้างแล้วยังบูรณะปฏิสังขรณ์วัดอื่น ๆ อีกมาก เช่น วัดโพธาราม ได้รื้อของเดิมทั้งหมดแล้วสร้างขึ้นใหม่ เปลี่ยนชื่อเป็นวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ( วัดโพธิ์ )วัดนี้ถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 วัดสระเกศวรวิหาร ( วัดสระแก ) วัดระฆังโฆสิตาราม ( วัดบางหว้าใหญ่ ) วัดยานนาวา ( วัดคอกกระบือ ) วัดสุวรรณาราม วัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดอยุธยา วัดนี้ถือว่าเป็นวัดประจำราชวงศจักรี

2. การสังคายนาพระไตรปิฏก
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้มีการชำระพระไตรปิฎก แต่ทำไม่สำเร็จเพราะสิ้นรัชกาลเสียก่อน ในปี พ.ศ. 2331 รัชกาลที่ 1 โปรดให้ดำเนินการต่อ โดยมี สมเด็จพระสังฆราช ( ศรี ) เป็นประธาน ได้มีการคัดเลือกพระสงฆ์ที่มีความรู้ทางพระปริยัติธรรม กับราชบัณฑิต มาช่วยกันสังคายนาพระไตรปิฎก ณ วัดพระศรีสรรเพชญ ( วัดนิพพานาราม ) ปัจจุบันคือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ( วัดสลัก ) เมื่อสังคายนาพระไตรปิฎกเรียบร้อยแล้ว ได้โปรดให้คัดลอก สร้างเป็นพระไตรปิฏกฉบับหลวงขึ้น เรียกว่า ฉบับทองใหญ่ แต่เดิมเรียก ฉบับทอง หรือฉบับทองทึบ เพราะปิดทองทึบทั้งหมด แล้วนำไปไว้ในหอพระมณเทียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่อมาภายหลังได้สร้างขึ้นอีก 2 ชุด เรียกฉบับทองชุบ และฉบับรองทรง หรือ ฉบับข้างลาย แล้วโปรดให้คัดลอกแจกจ่ายไปตามวัดวาอารามต่าง ๆ
3. การจัดระเบียบสังฆมณฑล
ในตอนปลายสมัยกรุงธนบุรี กล่าวกันว่า พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสติฟั่นเฟือน คิดว่าพระองค์เอง บรรลุโสดาบัน บังคับให้พระสงฆ์กราบไหว้พระองค์ ถ้าพระรูปใดขัดขืน ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ก็ถูกลงพระอาญา เมื่อรัชกาลที่ 1 ได้เสวยราชสมบัติ ก็โปรดให้สึกพระสงฆ์ที่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งของสมเด็จพระเจ้าตากสิน โดยมีดำรัสว่า “เป็นคนสอพลอทำให้เสียแผ่นดิน”และแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช ( ศรี ) พระพุฒาจารย์และพระพิมลธรรมให้กลับคืนสมณศักดิ์ตามเดิม

4. การรวบรวมพระพุทธรูปโบราณ
เนื่องจากบรรดาหัวเมืองต่าง ๆ มีพระพุทธรูปที่หล่อทิ้งไว้ กลางแดดกลางฝนตามวัดร้างต่าง ๆ มากมายไม่มีผู้ใดดูแลเอาใจใส่จึงโปรดให้อัญเชิญมาไว้ที่ กรุงเทพฯ พระพุทธรูปส่วนใหญ่นำมาประดิษฐานอยู่ที่ วัดโพธิ์ พระพุทธรูปที่สำคัญ ที่อัญเชิญมา ได้แก่ พระพุทธสิงหิงค์อัญเชิญมาจาก เชียงใหม่ มาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ในวังหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในปัจจุบัน พระศรีศากยมุนี อัญเชิญมาจากวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย มาประดิษฐาน ในวิหารหลวงวัดสุทัศน์ ฯ พระพุทธเทวปฏิมากร อัญเชิญมาจากวัดศาลาสี่หน้า ( วัดคูหาสวรรค์ ) ธนบุรี มาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ( วัดโพธิ์ ) 
พระโลกนาถ อัญเชิญมาจาก วัดพระศรีสรรเพชญ จังหวัดอยุธยา มาประดิษฐานในพระวิหารวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ( วัดโพธิ์ ) พระศรีสรรเพชญ อัญเชิญมาจากวัดพระศรีสรรเพชญ จังหวัดอยุธยาแต่เนื่องจากเป็นพระพุทธรูปที่ชำรุดเพราะถูกพม่าเผาเพื่อลอกเอาทองไป จึงอัญเชิญมาบรรจุไว้ ในพระมหาเจดีย์ ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลามราม แล้วพระราชทานนามว่า พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ ซึ่งถือกันว่า เป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 1พระพุทธรูปที่สำคัญอีกองค์คือ พระแก้วมรกต ได้อัญเชิญมาจากวัดอรุณราชวราราม มาประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระราชทานนามว่า พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พร้อมทั้งได้สร้างเครื่องทรงไว้ 2 ชุด คือ เครื่องทรงฤดูร้อนและเครื่องทรงฤดูฝน

5. การตรากฎหมายสงฆ์
เนื่องจากมีพระสงฆ์ ประพฤติผิดพระธรรมวินัยหลายเรื่อง ทำให้เป็นที่เสื่อมศรัธาแก่ประชาชน เมื่อขึ้นเสวยราชสมบัติ ได้โปรดให้ตรากฎหมายสงฆ์ขึ้น อาทิ ห้ามพระเทศน์ตลกคะนอง ห้ามพระสงฆ์รับฝากสมบัติหรือพัวพันสมบัติของฆราวาส ห้ามพระสงฆ์หากินจุกจิกกับฆราวาส เป็นต้น



การสร้างราชธานี

   การสร้างราชธานีแต่เดิมแผ่นดินอันเป็นที่ตั้งของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาระหว่าง ปากคลองบางกอกน้อยลงมาถึงปากคลองบางกอกใหญ่ เป็นแผ่นดินเดียวกัน มีชื่อเรียกกันในสมัยนั้นว่า “บางกอก” ตำบลบางกอกตั้งอยู่ ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม แม่น้ำเจ้าพระยาแต่เดิม ไหลตามคลองบางกอกน้อย คลองบางระมาด คลองตลิ่งชัน และคลองบางกอกใหญ่ ในสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช ( พ.ศ. 2079 – 2089 ) โปรดให้ ขุดคลองลัด เริ่มตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อยไปออกแม่น้ำเก่าหน้าวัดอรุณราชวราราม เรียกว่า คลองลัดบางกอกใหญ่ ต่อมากลายเป็น แม่น้ำตรงหน้า ท่าราชวรดิษฐ์ เมื่อน้ำไหลสะดวกขึ้น เลยกลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิมกลายเป็นคลองบางกอกน้อย คลองตลิ่งชั่น คลองบางระมาด คลองบางกอกใหญ่ในที่สุด ทำให้ตำบล บางมะกอก แบ่งออกเป็นสองส่วนคือฝั่งตะวันตกเรียก ฝั่งธนบุรี ฝั่งตะวันออกเรียก ฝั่งพระนคร ( บริเวณที่สร้างพระบรมมหาราชวังในปัจจุบัน ) เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติแล้ว ก็โปรดให้ ย้ายราชธานี จากฝั่งตะวันตก มาอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน ด้วยเหตุผลหลายประการดังนี้
1. ด้วยเหตุผลทางด้านยุทธศาสตร์ เพราะกรุงธนบุรีมีสภาพเป็นเมืองอกแตก มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหล ผ่ากลางเมืองยากแก่การป้องกันข้าศึกเข้าโจมตี
เหมือนเมื่อครั้งพระองค์เคยรักษาเมืองพิษณุโลก ในศึกอะแซหวุ่นกี้ถ้าย้ายพระนครมาอยู่ทางฝั่งตะวันออกเพียงฝั่งเดียว ถ้ามีข้าศึกมาโจมตี ีก็จะป้องกันได้ง่าย
2. สถานที่ตั้งกรุงธนบุรีคับแคบ เพราะมีวัดขนาบสองด้านคือ วัดอรุณราชวราราม ( วัดแจ้ง ) และ วัดโมฬีโลกยาราม ( วัดท้ายตลาด )
ไม่เหมาะที่จะขยายเมืองให้เจริญยิ่งขึ้นต่อไปได้
3. ฝั่งธนบุรีเป็นท้องคุ้ง น้ำเซาะตลิ่งทรุดพังอยู่เสมอ อาจเป็นอันตรายต่อพระราชฐานได้ เมื่อมีพระราชดำริดังนี้แล้ว ก็โปรดให้พระยาธรรมา ( บุญรอด )
และพระยาวิจิตรานาวี เป็นแม่กองคุมช่างและไพร่พล สร้างพระนครใหม่ โดยย้ายชาวจีน ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณที่จะสร้างพระนคร ไปอยู่บริเวณ คลองสามปลื้มจนถึงคลองวัดสามเพ็ง ( ตลาดสำเพ็งในปัจจุบัน ) โดยทำพิธียกเสาหลักเมือง ในวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2325 ตรงกับ วันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีขาล จุลศักราช 1144 โดยเกณฑ์ ชาวเขมร ลาว และข้าราชการหัวเมือง เข้ามา ช่วยระดมกัน ขุดลอกคูคลอง สร้างกำแพงเมือง ปราสาท ราชวัง ในการสร้างพระนครแห่งใหม่นี้ใช้เวลานาน 3 ปี เสร็จแล้ว โปรดให้มี พระราชพิธี สมโภชอย่างมโหฬาร รวม 3 วัน และขนานนามพระนครแห่งใหม่ว่า กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพนพรัตน์ ราชธานี บุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน มหาสถานอมรพิมาน อวตารสถิต สักกทัตติย วิษณุกรรมประสิทธิ์ ( สมัยรัชกาลที่ 4 เปลี่ยน กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์ เป็นกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ ฯ ) ซึ่งแปลได้ความว่า “เมืองแห่งเทพยดาเป็นเมืองใหญ่เป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกตเป็นเมืองรบ ไม่ชนะของพระอินทร์ เป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ของโลก อันประกอบด้วยรัตน 9 ประการ เป็นเมืองแห่งความร่มเย็นเป็นสุข ประกอบด้วยพระราชวังอันยิ่งใหญ่ ซึ่งเปรียบเสมือนสวรรค์อันเป็นที่ประทับ ของพระนารายณ์ เมืองที่พระอินทร์เป็น ผู้มอบให้ โดยให้พระวิษณุกรรมเป็นผู้สร้าง”พระมหาปราสาท และราชมณเฑียร ในพระบรมมหาราชวัง
ที่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประกอบด้วย

1. พระที่นั่งอมรินทราภิเษก มหาปราสาท สร้างด้วยไม้ทั้งองค์ โดยลอกแบบมาจากพระที่นั่งสรรเพชญปราสาท
พระที่นั่งองค์นี้ใช้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในปี พ.ศ. 2328 ต่อมาเกิดฟ้าผ่า ไฟไหม้ ในปี 2332 จึงโปรด ให้รื้อ แล้วสร้างขึ้นใหม่ ให้เหมือน พระที่นั่งสุริยาศอมรินทร์ แล้วพระราชทานนามว่า พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

2. พระมหามณเฑียร เป็นพระที่นั่งหมู่ประกอบด้วย
2.1 พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน
2.2 พระที่นั่งไพศาลทักษิณ
2.3 พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน
2.4 พระที่นั่งเทพสถานพิลาศ
2.5 พระที่นั่งเทพอาสน์พิไล                                                                                      
2.6 หอพระสุราลัยพิมาน
2.7 หอพระธาตุมณเฑียร

3. พระที่นั่งดุสิตาภิรมย์
4. พระที่นั่งเย็น
5. พระที่นั่งพลับพลาสูง ( สุทไธสวรรค์ )
6. พระที่นั่งทอง
การสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ( วัดพระแก้ว ) 
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงมีความคิดที่จะสร้างราชธานีแห่งใหม่ ให้มีความเจริญ รุ่งเรือง เหมือนกรุงศรีอยุธยา จึงสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามไว้ในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับ วัดพระศรีสรรเพชญที่กรุงศรีอยุธยา และสร้างปราสาทราชมณเฑียร สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัดดังนี้
1. พระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
2. หอพระมณเฑียรธรรม สร้างกลางสระเป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎกและเป็นที่แปลพระราชสาส์น
3. ศาลารายรอบพระอุโบสถ 12 หลัง
4. พระเจดีย์ทอง 2 องค์
5. หอระฆัง
ในปี พ.ศ. 2331 ภายหลังที่ชำระพระไตรปิฎกเสร็จแล้ว ได้นำพระไตรปิฏกมาไว้ที่ หอมณเฑียรธรรมและจัดให้มีมหรสพฉลอง มีการจุดดอกไม้ไฟ ทำให้เกิดเพลิงไหม้ จึงต้องสร้างที่เก็บพระไตรปิฎกขึ้นใหม่ พร้อมกับสร้างสิ่งอื่นเพิ่มเติมดังนี้ สร้างพระมณฑปไว้เก็บพระไตรปิฎก หอพระมณเฑียรธรรม สร้างหอพระเทพบิดร หอพระนาค และสร้างพระปรางค์แปดองค์


ด้านเศรษฐกิจ 

           รายได้ของประเทศในสมัยรัชกาลที่ 1 มีรายได้จากการค้าขายกับต่างประเทศ ในทวีปเอเชียส่วนใหญ่ไทยค้าขายกับ ชาวจีน ญี่ปุ่น ชวา สิงคโปร์และอินเดีย ส่วนชาวตะวันตกที่เข้ามาติดต่อทำการค้า ได้แก่ โปรตุเกส อังกฤษ การค้าขายในสมัยนี้ ใช้เรือสำเภาในการบรรทุกสินค้า การค้าของไทยนี้อยู่ในความดูแลของพระคลังสินค้า สังกัดกรมท่า มีเรือสำเภาหลวงที่ปรากฏ ในสมัย รัชกาลที่ 1 ได้แก่ เรือหูสง และ เรือทรงพระราชสาส์น 
ผลประโยชน์ที่ได้จากการค้ามีดังนี้ 
          1. ภาษีเบิกร่อง หรือ ค่าปากเรือ เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้นำสินค้าบรรทุกลงเรือเข้ามาขาย โดยเก็บจาก
เรือที่มีความกว้างตั้งแต่ 4 วาขึ้นไป คิดในอัตราวาละ 12 บาทสำหรับเรือที่เข้ามาติดต่อค้าขายอยู่เป็นประจำและมีไมตรีต่อกัน ถ้าเป็นเรือบรรทุกสินค้าของชาติที่นาน ๆ จะเข้ามาค้าขายสักครั้ง เรียกเก็บในอัตราวาละ 20 บาท
          2. อำนาจในการเลือกซื้อสินค้าของทางราชการ กรมพระคลังสินค้า จะให้พนักงานลงไปตรวจดูสินค้า ในเรือ
ซึ่งเรียกว่า เหยียบหัวตะเภา เพื่อคัดเลือกสินค้าที่จะซื้อหรือเก็บภาษีขาเข้าก่อน พระคลังสินค้า สามารถสั่งพ่อค้า ชาว ต่างชาติ ให้นำสินค้าเข้ามาขายให้กับรัฐบาลก่อน จึงจะขายให้กับประชาชนได้ หรือสินค้าบางอย่างที่จะเป็นภัย ต่อความมั่นคงของชาติ รัฐบาลสามารถสั่ง ห้ามขายให้กับประชาชน ต้องนำออกนอกราชกาณาจักร อาทิเช่น อาวุธปืน กระสุนปืน ฝิ่น เป็นต้น 
          3. ภาษีสินค้าขาเข้า รัฐบาลเก็บโดยชักส่วนสินค้าที่เรือบรรทุกเข้ามาขาย เรือที่มาเป็นประจำเก็บ ร้อยชัก 3 
นาน ๆ มาครั้งเก็บร้อยชัก 5 หรือเก็บตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ สินค้าขาเข้าที่สำคัญ ไดแก่ ผ้าไหมจากจีน ผ้าฝ้าย ผ้าจากอินเดีย เครื่องลายคราม ชา ไหมดิบ ไหมสำเร็จรูป เครื่องแก้ว ฯลฯ 
          4. ภาษีขาออก ภาษีชนิดนี้เก็บเป็นอย่าง ๆ ไป ตามประเภทของสินค้า เช่น น้ำตาลทรายเก็บหาบละ 
50 สตางค์ ( 60 ก.ก ต่อ 2 สลึง ) สินค้าขาออกที่สำคัญได้แก่ ครั่ง ดีบุก ไม้ยาง งาช้าง รง เขาสัตว์ หนังสัตว์ นอแรด หมาก พลู พริกไทย กระวาน กานพลู ข้าว รังนก ผลเร่ว ฯลฯ 
อนึ่งการค้าขายของไทยเป็นการค้าแบบผูกขาดโดย พระคลังสินค้า เป็นผู้กำหนดว่า สินค้าประเภทใด เป็น 
สินค้าผูกขาด สินค้าประเภทใดเป็น สินค้าต้องห้าม สินค้านอกเหนือจากที่ พระคลังสินค้า กำหนด ราษฎรสามารถ นำสินค้าไปขายให้กับชาวต่างชาติได้โดยตรง 
สินค้าผู้ขาด เป็นของหายาก เป็นสินค้าที่ราษฎรจะต้องนำมาขายให้กับพระคลังสินค้าเท่านั้น เช่น งาช้าง กฤษณา ฝาง รังนก ดีบุก ผลเร่ว 
สินค้าต้องห้าม เป็นสิ่งของที่ห้ามขายออกนอกราชอาณาจักรโดยเด็ดขาด เช่น ดินประสิว กำมะถัน 
          5. รายได้จากการเก็บภาษีอากรและผลประโยชน์ของแผ่นดิน
               5.1 จังกอบ ภาษีที่เก็บจากผู้นำสินค้าเข้ามาขาย โดยชักส่วนจากสินค้าที่ผ่านด่านทั้งทางบกและทางน้ำ
               5.2 อากร ภาษีที่เก็บจากราษฎรที่ประกอบอาชีพทุกชนิด ยกเว้นการค้า
               5.3 ฤชา ค่าธรรมเนียมที่ทางการเรียกเก็บจากราษฎรที่มาใช้บริการของรัฐ
               5.4 ส่วย เงินหรือสิ่งของที่เรียกเก็บจากไพร่ส่วยแทนการเกณฑ์แรงงาน


ระบบเงินตรา 
          เงินตราที่ใช้ในสมัยรัชกาลที่ 1 นั้น เรียกว่า เงินพดด้วง หรือ เงินกลม โดยมีตราประทับของทางราชการเป็นรูปจักร ดวงหนึ่ง และกรีดวงหนึ่ง ( ตรีศูล ) ต่อมาภายหลังให้เปลี่ยนจากรูปกรีเป็น ตราอุณาโลม ( บัวผัน ) มี 4 ขนาดคือ ชนิด หนึ่งบาท สองสลึง หนึ่งสลึง และหนึ่งเฟื้อง
ในระยะแรก มีตรารูปจักร และตรารูปกรี อย่างละหนึ่งตรา ต่อมาเมื่อได้มีพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้ใช้ ตรารูปบัวผันแทนตรา รูปตรี สำหรับตรารูปจักรจะเป็นจักรแบบ แปดกลีบ กลางจักรมีจุดเหมือนกงจักร จึงมีรูปร่างคล้าย กงจักร อันเป็นอาวุธของพระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ ผิดกับจักรในสมัย อยุธยา ซึ่งมีลักษณะเหมือนธรรมจักรในพุทธศาสนา ตราประจำรัชกาลมีอยู่สองตรา คือ ตราตรีศูล หรือ เรียกกันว่า ตรี หรือ กรี อันเป็นอาวุธของพระศิวะ หรือพระอิศวร รูปร่างเป็นสามง่าม มีกรอบล้อมรอบ อีกตราหนึ่งคือ ตราบัวผัน หรือตราบัวอุณาโลม มีรูปร่างคล้ายสังข์เวียนขวา อยู่ในกรอบ มีพื้นเป็นลายกนก

มาตราเงินไทย
2
โสฬส
เท่ากับ
1อัฐ
2
อัฐ
เท่ากับ
1ไพ
4
ไพ
เท่ากับ
1เฟื้อง
2
เฟื้อง
เท่ากับ
1สลึง
4
สลึง
เท่ากับ
1บาท
4
บาท
เท่ากับ
1ตำลึง
20
ตำลึง
เท่ากับ
1ชั่ง
นอกจากนี้ยังนิยมแบ่งค่าเงินที่ชาวบ้านเรียกกัน เป็น ซีก และ เสี้ยว โดย มูลค่า เงิน 1 เฟื้อง เท่ากับ 2 ซีก , 1 ซีก เท่ากับ 2 เสี้ยว



ขอบคุณที่มาจาก